วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เทศกาลเดือนเก้า อั้งหมี่ถ่อง หรือประเพณีกินข้าวห่อ

เทศกาลเดือนเก้า อั้งหมี่ถ่องหรือประเพณีกินข้าวห่อ






ความเป็นมาของเทศกาลเดือนเก้า อั้งหมี่ถ่อง หรือ ประเพณีกินข้าวห่อ
บ้านโป่งกระทิงบน ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เดิมชื่อบ้านกะเหรี่ยงว่า “บ้านกุ่ยโน่” ต่อมามีการติดต่อกับชาวไทยมากขึ้น จึงเรียกชื่อเป็นภาษาไทยว่า “บ้านบนเขา” เมื่อทางการ ได้เข้ามาพัฒนาโดย นพค. และ กรป.กลาง ได้พบเห็นกระทิงมากินดินโป่งอยู่บ่อย ๆ จึงเรียกว่า “โป่งกระทิง” แต่เนื่องจากมี 2 หมู่บ้านติดต่อกัน จึงเรียนกว่า “บ้านทิ่ยโท” ซึ่งเข้าถึงกันก่อนเรียกว่า “โป่งกระทิงล่าง” และเรียกอีกหมู่บ้านบนเขาว่า “โป่งกระทิงบน”

ปัจจุบันบ้านโป่งกระทิงบนยังมีประชากรชาวกะเหรี่ยงหรือชาวไทยตะนาวศรีเกือบ 50% และยังรักษาประเพณีที่ร่วมใจกันสืบทอดของชาวกะเหรี่ยงในเขต ราชบุรี –เพชรบุรี คือ เทศกาลเดือนเก้า อั้งหมี่ถ่อง หรือ ประเพณีกินข้าวห่อ ซึ่งเป็นการรวมญาติมาพบปะสร้างสรรค์มีการทำพิธีเรียกขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคลกับทุกคน

พิธียกเสาหงส์
เสาหงส์ ชาวกะเหรี่ยงพุทธในสมัยก่อนมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาแต่หาโอกาสเข้าศึกษาบทเรียนได้ยาก เพราะเป็นชาวป่า ชาวดงไม่เหมือนคนไทยหรือคนมอญที่มีความเจริญรุ่งเรืองในศาสนา ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อว่า “หงส์” เป็นนกแห่งสวรรค์สามารถเป็นสื่อนำความดี และนำความดีที่ชาวกะเหรี่ยงทำไปบอกกล่าวให้พระพุทธเจ้าได้รับทราบ เพื่อจะได้นำพระธรรมคำสอนที่บริสุทธ์ มาให้ ชาวกะเหรี่ยงได้ศึกษาและปฏิบัติต่อไป ด้วยการยึดหลักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะสูงสุด จะมีเจดีย์หรือเสาหลักบ้านเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และมีเสาหงส์เคียงคู่เพื่อใช้ทำพิธีประกอบในวันสำคัญทางศาสนา
อั้งหมี่ถ่อง ประเพณีกินข้าวห่อ
กะเหรี่ยงโปหรือกะเหรี่ยงโพลง หรือชาวไทยตะนาวศรี เป็นกลุ่มที่อาศัยตามแนวชาวแดนด้านตะวันตกของจังหวัดราชบุรี – เพชรบุรี จังหวัดราชบุรีจะอยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง ปากท่อ บ้านคา เป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มมายาวนาน
ประเพณีกินข้าวห่อ หรืออั้งหมี่ถ่อง เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับขวัญประจำตัวของคนกะเหรี่ยงเชื่อว่าทุกคนมีขวัญประจำของคนกะเหรี่ยงเชื่อว่าทุกคนมีขวัญประจำตัวเป็นสิริมงคลแก่ตัว หากใครที่ขวัญหายไม่อยู่กับตัว อาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ ดังนั้นแต่ละปีชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณีเรียกขวัญผูกข้อมือกินข้าวห่อขึ้น
ประเพณีกินข้าวห่อจะจัดในเดือน 9 ของทุกปี แต่ละหมู่บ้านจะจัดขึ้นไม่ตรงกันทำให้ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงสามารถไปมาหาสู่ร่วมกิจกรรมกันได้ ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า เดือน 9 หรือ “หล่าคอก” เป็นเดือนที่ไม่ดี เพราะบรรดาวิญญาณชั่วจะกิน “ขวัญ” ของคนที่เร่ร่อนไม่อยู่กับเนื้อกับตัวทำให้เจ้าของขวัญเจ็บป่วยได้
ก่อนถึงวันงาน 3 วัน ชาวกะเหรี่ยงจะต้องเตรียมอุปกรณ์ เช่น ใบผาก ใบตอง และข้าวเหนียวและเริ่มห่อข้าวเหนียวห่อด้วยใบผากหรือใบตองแล้ว แช่น้ำทิ้งไว้ ในวันสุกดิบจะมีการต้มข้าวทั้งหมดให้เสร็จ พร้อมทั้งเคี่ยวน้ำกะทิและเตรียมอุปกรณ์เซ่นไหว้ในตอนหัวค่ำของวันนี้ จะมีการยิงปืน จุดประทัด เคาะแม่บันได้ ให้เกิดเสียงดังเพื่อเป็นขวัญที่อยู่ไกล ๆ ได้รับรู้และจะได้เดินทางกลับมาในคืนนี้ประตูหน้าต่างของทุกบ้านจะเปิดเอาไว้ เพื่อให้ขวัญที่เดินทางกลับมาเข้าบ้านได้
ก่อนรุ่งอรุณของวันใหม่จะมีการยิงปืน จุดประทัด เคาะแม่บันไดอีกครั้งเพื่อเรียกขวัญที่อยู่ไกลบ้านยังเดินทางมาไม่ถึงให้รีบมา จากนั้นผู้เฒ่าประจำบ้านจำนำเครื่องรับขวัญที่ประกอบด้วย ข้าวห่อครูหรือข้าวห่อพวง กล้วยน้ำว้า อ้อย ยอยดาวเรือง เทียน สร้อยเงิน กำไรเงินและด้ายแดง มาทำพิธีเรียกขวัญ โดยจะไล่ผู้อาวุโสสูงสุด และรองไปตามลำดับในครอบครัว ซึ่งช่วงนี้ลูกหลานที่ไปอยู่ที่อื่นจะได้รู้จักกันว่าใครคือ พี่ ป้า น้า อา หรือน้อง ทำให้เกิดความรักความเกรงใจและความสามัคคีในกลุ่ม
ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์งานของ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัดเจริญ กับชุมชนกะเหรี่ยง


วัดเจริญกับชุมชนกะเหรี่ยง 
เดือน 5 ขึ้น 15 คำ่ของทุกๆ ปี ที่วัดแจ้งเจริญ หมู่ที่ 3 ตำบลจอมประทัด  อำเภอวัดเพลง  จังหวัดราชบุรี
จะคลาคล่ำไปด้วยบรรดาชาวกะเหรี่ยงราชบุรี ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดที่ใกล้เคียง  รวมถึงชาวไทยท้องถิ่นอื่น ๆ ได้ร่วมประเพณีเหยียบหลังชาวกะเหรี่ยง
           วัดแจ้งเจริญเดิมเรียกกันว่าเจดีย์ขาวสันนิษฐานว่าสร้างสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา  มีเจ้าอาวาสมาแล้ว 7 รูป  ปัจจุบัน พ.ศ. 2550 คือพระครูศรีธรรมมาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 8 ผู้ที่สร้างแรงจูงใจให้ชาวกะเหรี่ยงยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาคือหลวงพ่อนวมอดีตเจ้าอาวาสวัดแจ้งเจริญรูปที่ 3 กล่าวคือหลวงพ่อนวมได้ออกธุดงค์เจริญกรรมฐานในป่าแถบเขาตะนาวศรี  ในเขตชุมชนชาวกะเหรี่ยงซึ่งในอดีตนับว่าเป็นแหล่งชุมชนที่คนภายนอกเข้าไปไม่ถึง  ได้อบรมสั่งสอนให้ชาวกะเหรี่ยงย่านนั้นเข้าถึงพระรัตนตรัย  ครั้นเมื่อหลฝวงพ่อนวมมาอยู่ที่วัดแจ้งเจริญ  และได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส  ก็ยังมีชาวกะเหรี่ยงติดตามมาทำบุญมิได้ขาด  ความผูกพันที่ชาวกะเหรี่ยงมีต่อหลวงพ่อนวมนั้น  ไม่เพียงแต่เป็นผู้นำคำสอน
ของพระพุทธเจ้ามาบอกสอนแก่ญาติโยม  แต่ยังเป็นหมอผู้รักษาโรค ยื้อชีวิตจากการป่วยไข้ด้วยการใช้ทั้งยาสมุนไพร  และน้ำมนต์ที่ท่านได้ปลุกเสกด้วยอำนาจจิต  จากการปฏิบัติกรรมฐาน  เมทื่อมีผู้รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยคนแล้วคนเล่า  จึงยิ่งมีผู้ขอพึ่งใบบุญท่านเป็นทวีคูณ  ตราบเมื่อท่านมรณภาพ  ก็ยังมีชาวกะเหรี่ยงในเทือกเขาตะนาวศรีมาสักการะท่านอยู่เสมอจนกลายเป็นประเพณี


ข้อมูลท้องถิ่น

8 ชาติพันธุ์ จังหวัดราชบุรี

ไทยพื้นถิ่นราชบุรี อำเภอบางแพ ตำบลโพหัก วัดใหญ่โพหัก , วัดบางแพใต้

ตำบลวังเย็น วัดหลวง

อำเภอวัดเพลง ตำบลวัดเพลง บ้านหนองเกสร , บ้านเวียงทุนหัวดอน,

บ้านบางนางสูญ

ตำบลจอมประทัด บ้านปลายคลองเล็ก , บ้านดอกกลาง , บ้านบางกล้วย

บ้านบางกระดี่ , บ้านตาสน,บ้านปากสระ

จีนราชบุรี อำเภอบ้านโป่ง ตำบลบ้านโป่ง ตลาดเทศบาลเมืองบ้านโป่ง

ตำบลกรับใหญ่ ตลาดห้วยกระบอก

อำเภอเมือง ตำบลหน้าเมือง ตลาดเทศบาลเมืองราชบุรี

อำเภอโพธาราม ตำบลโพธาราม ตลาดเทศบางเมืองโพธาราม

ไทยยวนราชบุรี อำเภอเมือง ตำบลคูบัว บ้านระหนอง , บ้านหนองขัน , บ้านใต้ , บ้านตะโก

บ้านต้นแหน , บ้านโพธิ์งาม , บ้านใหม่ , บ้านหัวนา - วัดแคทราย

ตำบลห้วยไผ่ บ้านห้วยไผ่ , บ้านนครบาล

ตำบลดอนตะโก วัดเขาลอยมูลดค , บ้านเขาลอยมูลโค

ตำบลอ่างทอง วัดใหญ่อ่างทอง

ตำบลเจดีย์หัก บ้านเจดีย์หัก , วัดเจติยาราม

ตำบลหินกอง วัดห้วยปลาดุก

ตำบลดอนแร่ บ้านดอนแร่ , บ้านนาหนอง , บ้านซาด ,บ้านดอนตัน บ้านห้วย , บ้านดอนกอก , บ้านหนองสระ บ้านหนองโป่ง , บ้านหนองมะตูม

อำเภอโพธาราม ตำบลหนองโพ บ้านบางกระโด , วัดบางกระโด,วัดหนองโพ

อำเภอบ้านโป่ง ตำบลหนองปลาหมอ วัดหนองปลาหมอ

ตำบลหนองอ้อ วัดชมภูพล , บ้านบ่อเจ็ก

อำเภอบางแพ ตำบลวัดแก้ว วัดบ้านหลวง

อำเภอปากท่อ ตำบลอ่างหิน วัดหนองโก , วัดนาคอก

ตำบลทุ่งหลวง บ้านคุพาย , บ้านพุพลับ

ตำบลบ่อกระดาน วัดหนองบัว

อำเภอจอมบึง ตำบลรางบัว บ้านรางอาว , บ้านทุ่งกว้าง , บ้านชัฎใหญ่ , บ้านหนองนกกระเรียน

อำเภอสวนผึ้ง ตำบลบ้านบ่อ บ้านหนองกลางเนิน , บ้านนาไร่เดียว , บ้านชัฏหนองหมี บ้านชัฏป่าหวาย

ตำบลท่าเคย บ้านหนองขาม, บ้านทุ่งแหลม , บ้านนาขุนแสน

มอญราชบุรี อำเภอบ้านโป่ง ตำบลคุ้งพยอม วัดตาลปากลัด , วัดโพธิ์โสภาราม , วัดมะขาม

ตำบลบ้านม่วง วัดม่วง , วัดบัวงาม

ตำบลนครชุมน์ วัดหัวหิน , วัดใหญ่นครชุมน์ , วัดตาผาอำเภอโพธาราม ตำบลคลองตาคต วัดบ้านหม้อ , วัดป่าไผ่ , วัดคงคาราม ตำบลโพธาราม วัดไทรอารีรักษ์ ตำบลสร้อยฟ้า วัดม่วงราษฎร์ศรัทธาราม ,วัดเกาะ,วัดขนอน,วัดสร้อยฟ้า

ตำบลดอนกระเบื้อง ชุมชนมอญดอนกระเบื้อง

เขมรราชบุรี อำเภอเมือง ตำบลห้วยไผ่ บ้านรากมะขาม , บ้านเขาน้อย , บ้านห้วยหมู

ตำบลหน้าเมือง บ้านเด่นกระต่าย ตำบลคุ้งกระถิน บ้านคุ้งกระถิ่น

ตำบลคุ้งน้ำวน บ้านคุ้งน้ำวน ตำบลพงสวาย บ้านพงสวาย , บ้านคลองแค อำเภอปากท่อ ตำบลยางงาม บ้านกอไผ่ (หมู่ที่3)

ตำบลดอนทราย บ้านหนองจอก

ตำบลบ่อกระดาน บ้านหัวถนน , บ้านบ่อตะคร้อ ตำบลปากท่อ ตำบลหนองกระทุ่ม บ้านหนองกระทุ่ม

อำเภอวัดเพลง ตำบลเกาะศาลพระ บ้านคลองขนอน , บ้านคลองพระเนาว์ ,บ้านโคกพริก ตำบลวัดเพลง บ้านบางนางสูญ , วัดศรัทธาราม

อำเภอบางแพ ตำบลหัวโพ บ้านดอนมะขาม

ตำบลวังเย็น บ้านเตาอิฐ , บ้านหนองม่วง ตำบลวัดแก้ว บ้านเสาธง , บ้านทำนบ ตำบลบางแพ บ้านท่าราบ อำเภอโพธาราม ตำบลบางโตนด บ้านสมถะ ตำบลเจ็ดเสมียน บ้านสนามชัย

ลาวเวียงราชบุรี อำเภอเมือง ตำบลเขาแร้ง

อำเภอโพธาราม ตำบลบ้านฆ้อง บ้านบ่อมะกรูด(บ้านซ่าง) บ้านเก่า , บ้านฆ้อง ตำบลบ้านสิงห์ บ้านสิงห์ , บ้านกำแพงเหนือ , บ้านกำแพงใต้,บ้านน้ำหัก

ตำบลบ้านเลือก บ้านเลือก, วัดโบสถ์,บ้านดอนกลาง,บ้านหนองรี บ้านหนองเต่าดำ , บ้านเตาเหล็ก, บ้านขนุน,บ้านหุบกล่ำ

ตำบลดอนทราย บ้านบางลาน, บ้านดอนทราย

อำเภอบ้านโป่ง ตำบลกรับใหญ่ บ้านกรับใหญ่ , บ้านอ้ออีเขียว , บ้าหนองประทุน

บ้านหนองกลางด่าน , บ้านหนองโรง, บ้านรางพลับ

ตำบลหนองกบ บ้านหนองปลาดุก ตำบลปากแรต วัดปลักแรด

ตำบลหนองอ้อ บ้านหนองอ้อ ตำบลท่าผา บ้านดอนเสลา , บ้านฆ้องน้อย อำเภอจอมบึง ตำบลจอมบึง บ้านเขาแร้ง , บ้านเกาะ

ตำบลปากช่อง

กะเหรี่ยงราชบุรี อำเภอสวนผึ้ง ตำบลสวนผึ้ง บ้านบ่อ

ตำบลตะนาวศรี บ้านบ่อหวี กิ่งอำเภอบ้านคา ตำบลบ้านคา บ้านคา

ตำบลบ้านบึง บ้านโป่งกระทิงบน

อำเภอปากท่อ ตำบลยางหัก บ้านท่ายาง , บ้านแม่ประจัน , บ้านไทรงาม

โส้งราชบุรี อำเภอจอมบึง ตำบลจอมบึง บ้านตลาดควาย อำเภอดำเนินสะดวก ตำบลดอนคลัง บ้านดอนคลัง , บ้านโคกตับเป็ด

ตำบลบัวงาม บ้านบัวงาม อำเภอบางแพ ตำบลดอนคา บ้านดอนคา , บ้านตากแดด , บ้านดอนพรม อำเภอปากท่อ ตำบลห้วยยางโทน บ้านหัวเขาจีน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับท้องถิ่นและความเป็นมาของชนชาวกะเหรี่ยง
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม กะเหรี่ยง
ในประเทศไทยคนกะเหรี่ยงถูกจัดให้เป็น ชาวไทยภูเขา ซึ่งมีความหมายว่ากลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยทำกินหรือมีบรรพชนอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงในราชอาณาจักร ซึ่งมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ภาษาและการดำเนินชีวิต ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เซอร์ จอห์น เบาริง ( sir John Bowring ) อัครราชทูตอังกฤษที่เข้ามาเจรจาและทำสนธิสัญญากับประเทศสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้อ้างถึงบันทึกของพระสังฆราช ปาล เล กัวซ์ บาทหลวงในคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิกชาวผรั่งเศสที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่กล่าวถึงชาวกะเหรี่ยงว่า
ชาวกะเหรี่ยง เป็นชาติที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในสยาม ก่อนที่คนไทยจะถอยร่นลงมาจากทางเหนือมาสร้างบ้านแปลงเมืองอยุธยานั้น ชาวกะเหรี่ยงต้องยอมเสียพื้นที่ และร่นเข้าไปอยู่ตามภูเขา ทางทิศตะวันออก กับ ทิศตะวันตก และตั้งถิ่นฐานอยู่จนถึงทุกวันนี้
การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
ตามลักษณะสรีระวิทยากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจัดอยู่ในกลุ่มมองโกลอยด์ได้ ในการจำแนกกลุ่มกะเหรี่ยงออกเป็นแต่ละสาขานั้น เข้าใจว่าผู้จัดแบ่งใช้หลักเกณฑ์ของกลุ่มที่ใช้ฐานของภาษากะเหรี่ยงเป็นหลัก กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีอยู่ 4 เผ่าใหญ่ คือ
1. กะเหรี่ยงเผ่า ที่เรียกตนเองว่า จกอว์ หรือ ปกา เกอะ ญอ Pgaz K nyau ชาวต่างชาติออกเสียงเป็นสกอว์ ( Sgaw Karen ) นักภาษาศาสตร์เรียกกะเหรี่ยง จกอว์หรือ ปกา เกอะ ญอ ว่า บามากะยิน หรือกะเหรี่ยงพม่า กะเหรี่ยงจกอว์ใความใกล้ชิดและสัมพันธ์กับพม่าเคยอยู่ในที่ราบแถบเมืองพุกามทางภาคเหนือของพม่า และเมืองตองอู ในภาคกลางของประเทศไทยนับแต่จังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กะเหรี่ยงจกอว์ ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กะหร่าง การเรียกชื่อ กะเหรี่ยง จกอว์ ว่า กะหร่าง ปรากฏครั้งแรก ในเอกสาร สมุด ราชบุรี ( พ.ศ. 2468 )
2. กะเหรี่ยงกลุ่ม ที่เรียกตนเองว่า ซูว หรือ โผล่ว ชื่อ ซูว เป็นชื่อดั้งเดิมที่กะเหรี่ยงโผล่ว เรียกชื่อเผ่าตนเอง คำว่า โผล่ว มีความหมายว่า คน หรือ มนุษยชาติ พม่าเรียกกะเหรี่ยง ซูว หรือ กะเหรี่ยงโผล่ว ว่า เกอะเหย่ย์โปว์ คนโย หรือ ยวน อันหมายถึงคนล้านนาเรียก คน ซูว ว่า ยางส่วย กะบาง บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ เรียกกะเหรี่ยงเผ่านี้ว่า ยางกะเลอ กะเหรี่ยง จกอว์เรียกกะเหรี่ยงโผล่ว ว่า โปว์ นักภาษาศาสตร์ยังเรียกกะเหรี่ยงโผล่วว่าตะเลงกะยิน หรือกะเหรี่ยงมอญเนื่องจากกะเหรี่ยงโผล่ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนมอญซึ่งอยู่ในที่ราบลุ่มทางภาคใต้ของพม่า โผล่วจึงได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาและภาษาบาลีสันสกฤตจากชนชาติมอญ
3. กะเหรี่ยงกลุ่ม ที่เรียกตนเองว่า กะยาห์ กะเหรี่ยงโผล่วและจกอว์ เรียก กะเหรี่ยงกะยาห์ว่า บะแว Bweคนล้านนาเรียกกะยาห์ว่ายาแดง พม่าเรียกว่า กะยินนี ซึ่งแปลว่า คนแดง กะยาห์มีรัฐเป็นของตนเองเรียกว่ารัฐกะยาห์มีเนื้อที่ 4,820 ตารางไมล์ เนื้อที่ใกล้เคียงกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประชากร ประมาณ สองแสนกว่าคน มีเมืองดอยก่อ หรือ กันตรวดีเป็นเมืองหลวง ทิศตะวันออกของรัฐกะยาห์ ติดกับไทยด้านจังหวัด แม่อ่องสอน ทิศเหนือติดรัฐไทยใหญ่ ทิศใต้ติดรัฐกะเหรี่ยง Gordon Young ( 1974 ) กล่าวว่ากะยาห์มีจำนวน 15 หมู่บ้าน ประชากรประมาร 1, 000 คน อาศัยอยู่ใน พื้นที่อำเภอเมือง อำเภอ ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในประเทศพม่ากะเหรี่ยงกะยาห์ ยังมีกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยย่อยลงไปอีกหลายกลุ่มเช่น 1. เผ่า กะยาห์ ลิย พยู คนทั่วไปรู้จักในชื่อของ กะยาห์ กะเหรี่ยงโผล่วและจกอว์เรียก บเว 2. เผ่า ปูนู พม่าเรียก มะนูมะนอ เป็นกลุ่มย่อยของ บเว อยู่บนดอยสูงทางตะวันตกของรัฐกะเรนนี 3. เผ่า เกคู หรือ กะยานพม่าเรียก ยินบอว์ 4. เผ่า กะยัน ไทใหญ่ เรียก ปะด่อง หรือ กะเหรี่ยงคอยาว ได้อพยพมาจากรัฐกะยาห์ในพม่าเข้ามาอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเมื่อปี พ.ศ. 2527 ในสถานะของผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบระหว่างทหารรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยงกะยาห์ กลุ่มนักธุรกิจท่องเที่ยวร่วมกับเจ้าหน้าที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้นำปะด่อง หรือ กะเหรี่ยงคอยาว เข้ามาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ผู้ศึกษา ( วุฒิ บุญเลิศ ) ได้เปรียบเทียบภาษากะเหรี่ยงกะยัน กับกะเหรี่ยงจกอว์และกะเหรี่ยงโผล่วในประเทศไทย พบว่ามีคำศัพท์หลายคำที่ใช้ ตรงกัน เช่น คำเรียก สุกร ไก่ พ่อ แม่ ทำ ลุก มาก ใหญ่ เล้ก ไป เป็น ค่า ดิน ฯลฯ ผู้ศึกษาจึงเห็นด้วยว่า กะยันเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสาขาหนึ่งตามที่นักภาษาศาสตร์ได้ จัดทำแผนภูมิให้อยู่ในกลุ่มภาษากะเหรี่ยง 5. เผ่า ปะกู เรียกและมองตนเองว่าเป็น กะเรนนี 6. เผ่า เกบา พม่าเรียก กะเหรี่ยงพยูอยู่ระหว่างรัฐกะเรนนีกับรัฐฉาน 7. เผ่า ตาละยา ไทยใหญ่เรียกยางตาลาย พม่าเรียกยินเตเล 8. เผ่า ลาหืตา หรือ ซาเยน
จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวถึงกะเหรี่ยงยางแดงที่ถูกชนชาติอื่นที่ถือตัวว่าเจริยกว่า ดุถูกเหยียดหยามมาชั่วระยะเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์ ดังปรากฏในคำจ่มของพญาพรหมซึ่งกล่าวคัดค้านการที่ตนเองถูกดูถูกดูแคลนว่า
แต๋มว่าข้าไพร่น้อย ก้หากใจ๋คน บ่ใจ้สัตว์หน้าขน กินหญ้า บ่ใจ้ขี้ข้าหมู่ยางแดงบ่ได้แตงจับยับ มาจากตั๊บ ( ทัพ ) เวี๋ยงจั๋น
เมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ พวกยาแดงได้แสดงวิญญาณมนุษย์ของเขาออกมาตั้งรัฐเป้นรัฐหนึ่งในสหภาพพม่าคือรัฐกะยาห์ ชนชาติที่ไม่เคยถูกเหยียดหยามและถูกกีดกันมิให้เป้นคนนั้น ไม่สามารถรู้ซึ้งได้ดอกว่าคำว่า คน มีความหมายสักเพียงใด
คน คำนี้กังวานสร้างทระนง คนต้องคงคุณค่านั้นนิรันดร์การ
4. กะเหรี่ยงกุล่มทีเรียกตนเองว่า เผ่า ปะโอ ต่องซู่
กะเหรี่ยงโผล่ว และกะเหรี่ยงจกอว์ รวมทั้ง คนพม่า และไทใหญ่ เรียก ปะโอว่า ต่องซู้ซึ่งเป็นภาษาพม่าที่แปลว่า คนภูเขา พจนานุกรมบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 อธิบายว่าต่องซู้ เป็นชนชาติกะเหรี่ยงหรือยางพวกหนึ่ง และกล่าวถึงคำว่า กุลา หรือ กุหล่า หมายถึง ชนชาติ ต่องซู้และไทใหญ่ นักภาษาศาสตร์ได้รวมเอา ปะโอ เป็น กะเหรี่ยงอีกสาขาหนึ่ง โดยยึดถือเอาการใช้ภาษาร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ปะโออาศัยอยู่ในพม่า บริเวณ รัฐ คาเร็นนี เมืองตองอูสะเทิม เมาะลำเลิง ผาอ่าง รัฐกะเหรี่ยง เมื่อพระเจ้ามนูหะกษัตริย์มอญได้เสียเมืองแก่พระเจ้าอนรธาแห่งเมืองพุกาม พวกปะโอได้อพยพขึ้นไปอยู่ตามเมืองเขาเขิน ในพงศาวดารพม่า กล่าวถึง ต่องซู้ ว่าเป็นกะเหรี่ยงเผ่าปะโอ อาศัยอยู่เมืองสะเทิม ( จังหวัดสะโตง )ด้านตะวันออกสุดของพม่าระหว่างอ่าวเบงกอล และประเทสไทย นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษากะเหรี่ยงผสมพม่า ลักษณะผิวสีของคนปะโอ มีผิวคล้ำ ขนคิ้วดก ภาษาปะโอผสมทั้งกะเหรี่ยงและพม่า มีภาษากะเหรี่ยงเป็นพื้น ปะโอเป็นกลุ่มชนที่ชอบค้าขายไปในดินแดนต่างๆ จึงเป็นที่รู้จักของคนสยาม ลาว เขมร สินค้าที่ปะโอนำมาขายเป็น สินค้าจำพวก เครื่องทอง เงิน ผ้าไหม เครื่องประดับ สินค้าที่ปะโอซื้อกลับไปพม่า คือ ช้าง งาช้าง วัว ควาย เหตุที่การค้าขายของปะโอเฟื่องฟูเนื่องจากได้รับอภิสิทธิ์ด้านการค้า ตามสนธิสัญญาเบาริ่ง พ.ศ. 2398 เนื่องจากกุลาหรือ ปะโอเป็นคนในบังคับของอังกฤษ เมื่อทำความผิดไม่ต้องขึ้นกับศาลไทย รัฐบาลไทยจึงให้ความสะดวกในการค้าขายตามพันธสัญญาบราวริ่ง
ชื่อและความหมายของกะเหรี่ยง
ปกา แปลว่า เรา , พวกเรา, เกอะ ญอ แปลว่า คน , มนุษย์ , มนุษย์ชาติ , และ ยังแปลได้อีกว่า เรียบง่าย , สมถะ, ปกาเกอะญอ จึงมีความหมายว่า เราเป็นคน, เป็นมนุษย์ชาติ , เป็นคนที่เรียบง่าย,เป็นคนสมถะ โผล่ว แปลว่า คน, มนุษย์ชาติ, เหง่อโผล่ว จึงมีความหมาย เหมือนกับคำว่า ปกาเกอะญอ คือ เราเป็นคน เราเป็นมนุษย์ชาติ กะยาห์ กับ เกอะญอ มีความหมายว่า คน , มนุษย์
กะเหรี่ยงสวนผึ้ง
วิถีสังคม วัฒนธรรม ของกะเหรี่ยงสวนผึ้ง
กะเหรี่ยงสวนผึ้งเป็นกลุ่มประชากรดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่การปกครองของจังหวัดราชบุรี มีพื้นทางวัฒนธรรมครอบคลุมไปถึงกลุ่มกะเหรี่ยงในจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมชนกะเหรี่ยงสวนผึ้งอยู่ห่างจากกรุงเทพ 160 กิโลเมตร
ที่ตั้งลักษณะภูมิประเทศและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกิ่งอำเภอ ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ทิศใต้ ติดกับพื้นที่ตำบล ยางน้ำกลัด ทิศเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออก ติดกับพื้นที่เขตการปกครองของตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี มีเทือกเขาขนาดย่อมชาวบ้านเรียกว่า เขาสนและเขาชนเอก เป็นแนวเขตตามธรรมชาติ ทิศตะวันตก อยู่ตรงข้ามกับ ตำบล บางคะยู เมตตา เขตจังหวัดทะวาย ของพม่า มีเทือกเขาตะนาวศรีที่เป็นแนวเขตคั่นตามธรรมชาติ
สภาพภูมิอากาศ
ฤดูร้อน อากาศร้อนจัดและอบอ้าวในเดือน มีนาคมและเมษายน อุณหภูมิประมาณ 13 – 3 (c ) ฤดูฝน ฝนจะเริ่มตกในเดือนเมษายน – พฤษภาคม ฝนจะทิ้งช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม เมื่อถึงเดือนสิงหาคม จะมีฝนประปรายเป็นบางช่วง ฝนเริ่มตกถี่ขึ้นในเดือน กันยายน – ตุลาคม ปริมาณฝนทั้งปีตกเฉลี่ย 176.18 ม.ม. ฤดูหนาว ในฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็นเพราะอยู่ใกล้ภูเขา อากาศเริ่มหนาวเย็น ในเดือน ธันวาคม – มกราคม อุณหภูมิ 13-36
สภาพภูมิประเทศ และสถานที่สำคัญ
สภาพพื้นเป็นป่าเขา มีระดับความสูงของพื้นที่ลดหลั่นลงมาตามซอกเขาแนวผาทำให้เกิดหุบห้วยและสายธารขนาดเล็กหลายสาย สภาพป่าไม้เป็นป่าเบญจพรรณ มีลำห้วยที่ชาวกะเหรี่ยงสวนผึ้งใช้ประโยชน์หลากหลายสาย ประกอบด้วย
ลำห้วย.ห้วยบ่อ
ลำห้วยห้วยบ่อ คนกะเหรี่ยงเรียกห้วยบ่อว่า ดีบ้อกคลุ แปลว่า ลำห้วยดีบุก ที่มาของชื่อ ห้วยบ่อมาจากการคำว่า บอริ่ง ที่มีการขุดบ่อแร่ เพื่อสำรวจแร่ดีบุก ห้วยบ่อมีต้นน้ำบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี ไหลมาทางตะวันออก ผ่านบ้านทุ่งเจดีย์ บ้านทุ่งไม้แดง บ้านทุ่งแฝก บ้านบ่อ เป็นที่ตั้งของตัวอำเภอสวนผึ้ง ลำห้วยบ่อไหลมาบรรจบกับลำน้ำแม่ภาชี บริเวณสะพานข้ามลำน้ำภาชี รัฐบาลได้ให้สัมปทานเหมือนแร่ดีบุกบริเวณต้นน้ำห้วยบ่อนับแต่ปี พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา เมื่อเหมืองแร่ได้หยุดกิจการลงลำน้ำห้วยบ่อกลับฟื้นคืนชีพ น้ำในลำห้วยบ้านบ่อเริ่มกลับมาใสตลอดทั้งปี พืชน้ำริมฝั่งห้วยเริ่มกลับมาขยายพันธุ์ ท้องน้ำบางแห่งเริ่มมีวังน้ำ สัตว์น้ำเริ่มแพร่พันธุ์
ลำห้วย.ห้วยคลุม
คนกะเหรี่ยงเรียกห้วยคลุมว่า โคล่งไหน่ เป็นลำห้วยที่มีต้นน้ำบริเวณผืนป่าที่ติดกับเทือกเขาตะนาวศรี ห้วยคลุม ไหลเลาะเลียบตามหุบเขาผ่านบ้าน ถ้ำหินบ้าน บ้านห้วยคลุมกะเหรี่ยง บ้านวังส้มป่อย บ้านห้วยคลุมลาวยวน ไหลมาบรรจบกับลำน้ำแม่ภาชีที่บ้านกล้วย
ลำห้วย .ห้วยน้ำหนัก
กะเหรี่ยง จกอว์ เรียกลำห้วยนี้ว่า อะหนะคลุ ห้วยน้ำหนักมีต้นน้ำจากผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภาชี กะเหรี่ยงดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามลำน้ำสายนี้เป็นกะเหรี่ยงจกอว์ ห้วย น้ำหนักไหลมาบรรจบกับลำน้ำแม่ภาชีที่บ้านห้วยน้ำหนัก บริเวณที่ราบริมลำห้วยอะหนะมีเนื้อดินที่อุดมสมบูรณ์ คนไทยได้มาเช่าที่ ชาวกะเหรี่ยงเพื่อ ปลุกพืชผักล้มลุก
ลำห้วย.ท่าเคย
คนกะเหรี่ยงเรียกลำห้วยท่าเคยว่า ถะคี้ ลำห้วยท่าเคยเป็นลำห้วยสายรองลงมาจากลำน้ำแม่ภาชีห้วยท่าเคย มีจุดกำเนิดมาจากผืนป่าในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภาชี สายน้ำท่าเคยไหลจากทิศใต้ขึ้นไปยังทิศเหนือ ผ่านหมู่บ้านกะเหรี่ยง บ้านลำพระ บ้านคา บ้านบึง กิ่งอำเภอบ้านคา มาบรรจบกับลำน้ำแม่ภาชีที่บ้านสวนผึ้ง
ลำน้ำ แม่ภาชี
แม่ภาชีเป็นลำน้ำที่มีต้นกำเนิดจากลำห้วยสาขาต่างๆ 24 สาย ต้นน้ำภาชีอยู่ในเขตประเทศไทยบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดราชบุรีกับเพชรบุรี ที่เป็นถิ่นที่อยู่ของกะเหรี่ยงจกอว์มาช้านาน แม่ภาชีมีความยาวที่ไหลพาดผ่านพื้นที่ในเขตปกครองของจังหวัดราชบุรีด้วยความยาว 50 กิโลเมตร ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทางทิศเหนือ มาบรรจบกับแม่น้ำแควน้อยที่บ้านท่าเสด็จ อำเภอ ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี
ชาวกะเหรี่ยง เรียกลำน้ำภาชีว่า แม่ประชี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 ได้รับสั่งให้มีการสำรวจเส้นทางเพื่อการเตรียมรับศึกพม่าที่จะยกมาในปี พ.ศ. 2363 ได้มีการสำรวจเส้นทางจากแควน้อยถึงเมืองท่าขนุน มีการกล่าวถึงชื่อ ลำน้ำภาชีดังนี้ ระยะทางจาก ลุ่มกลางถึง แม่ประชี มีระยะทาง 59 เส้น ในปี พ.ศ. 2438 รองเจ้ากรมโลหะกิจ ได้เข้ามาสำรวจการทำเหมืองแร่ดีบุกที่สวนผึ้งเรียกลำน้ำภาชีว่า แม่ประชี เช่นกัน ลุงบุญธรรม คุ้งลึง พูดถึงความเชื่อของคนกะเหรี่ยงสวนผึ้ง ว่าแม่น้ำภาชี ผู้ชาย แม่น้ำเพชรบุรี ที่ไหลลงอ่าวไทยในอำเภอเมืองเพชรบุรีเป็นแม่น้ำผู้หญิง พระเจ้าแผ่นดินจะไม่ข้ามแม่น้ำภาชี ถ้พรพเจ้าแผ่นดินหรือ พระโอรสข้ามน้ำสายนี้ จะเกิดอาเพศแก่แผ่นดิน จะเกิดเหตุการณ์ ที่ไม่ดีกับเชื้อพระวงศ์ พระราชินีหรือเชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้หญิงข้ามได้ไม่เป็นไร นายประกิต ใจบำเพ็ญ อดีตกำนันตำบลสวนผึ้ง เล่าว่า ทางราชการได้นำน้ำจากแม่น้ำภาชีไปใช้ประกอบพิธีที่สำคัญอีกด้วย ก่อนปี พ.ศ. 2507 น้ำภาชีใสสะอาดตลอดทั้งปีลำน้ำแม่ภาชียังมีแก่งน้ำธรรมชาติคือ แก่งส้มแมว ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อน และศึกษาพรรณไม้บริเวณสวนป่าสิริกิตติ์
เทือกเขาตะนาวศรี
คนพม่าเรียกเขาตะนาวศรีว่า ตะนินตะยี ฝรั่งออกเสียงเป็นเทนิสเซริม กะเหรี่ยงสวนผึ้งเรียกว่า คู๊หล่องคังเชิ้ง มีความหมายว่า ภูเขาที่กั้นเขตแดน เทือกเขาตะนาวศรีมีความยาว834 กิโลเมตรเชื่อมต่อจากเทือกเขาถนนธงชัยระหว่างรอยต่ออำเภออุ้มผางจังหวัดตาก กับอำเภอศรีสวัสดิ์จังหวัดกาญจนบุรีไปสิ้นสุดที่อำเภอปากจั่นจังหวัดระนอง เทือกเขาตะนาวศรีพาดผ่านพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง เป็นแหล่งของต้นน้ำ ที่ก่อให้เกิดน้ำตก แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ในอำเภอสวนผึ้ง เทือกเขาตะนาวศรีอยู่ห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสวนผึ้งไปทางทิศตะวันตก 15 กิโลเมตร อยู่ห่างจากแม่น้ำตะนาวศรี ซึ่งอยู่ในเขตประเทศพม่า 15 กิโลเมตร เทือกเขาตะนาวศรีที่ทอดผ่านพรหมแดนไทย-พม่าด้านอำเภอสวนผึ้ง มีความยาวกว่า 73 กิโลเมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดคือเขาพุน้ำร้อน สูง 1,062 เมตร ยอดเขาใหญ่ สูง 1,055 เมตร เทือกเขาตะนาวศรีในเขตอำเภอสวนผึ้งและกิ่งอำเภอบ้านคาเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสายเช่น แม่น้ำภาชี ห้วยต้อกะจ้า ( ต้องกินเจ้า ) ห้วยพุระกำ ห้วยพุน้ำร้อน ห้วยท่าเคย ห้วยสวนพลู ห้วยลำบัวทอง ห้วยน้ำใส ห้วยคลุม ลำห้วยทุกสายไหลมารวมกับลำน้ำภาชี ในต้นฤดูฝนระหว่างปลายเดือนเมษายน ถึงเดือน กันยายน เทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวกั้นฝนที่มาจากทะเลอันดามัน ทำให้เกษตรในอำเภอสวนผึ้งได้รับปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ เมฆฝนพัดผ่านอำเภอสวนผึ้ง ไปตกในพื้นที่อำเภอเมือง ราชบุรี โพธาราม และจังหวัดนครปฐม
ลักษณะภูมิประเทศของป่าบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีด้านอำเภอสวนผึ้ง เป็นป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 200 เมตร ถึง 1,062 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง






























































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ราชบุรี, ตะวันตก, Thailand
ฝ่ายข้อมูลท้องถิ่น

ประวัติความเป็นมาของชุมชนกะเหรี่ยง

ประวัติความเป็นมาของชุมชน
การศึกษาเรื่องราวของชุมชนต่าง ๆ ทำให้เราได้รู้ประวัติความเป็นมา และเรื่องราวที่น่าสนใจ เช่น การดำเนินชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดจนวัฒนธรรมและประเพณีที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ตัวอย่าง ประวัติความเป็นมาของชุมชนไทยกะเหรี่ยง
ประเทศไทยจัดให้กะเหรี่ยงเป็นชาวไทยภูเขากลุ่มหนึ่ง เนื่องจากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อยู่อาศัยทำมาหากิน และมีบรรพบุรุษอยู่บริเวณที่ราบสูงในประเทศไทย ซึ่งมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ภาษา และการดำเนินชีวิตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ในอดีต นักวิชาการได้จัดแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ
1. กะเหรี่ยงสกอร์ หรือปกาเกอะญอ
2. กะเหรี่ยงชูว หรือโผล่ว
3. กะเหรี่ยงคะยาห์ หรือยางแดง
4. กะเหรี่ยงตองซู
แต่ปัจจุบัน นักวิชาการรุ่นใหม่มีความเห็นที่แตกต่างออกไปและจัดแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงไว้เพียง 2 กลุ่ม คือ
1. กะเหรี่ยงสกอว์ หรือปกาเกอะญอ
2. กะเหรี่ยงซูว หรือโผล่ว
โดยกะเหรี่ยงทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว มีความเป็นอยู่ทางด้านสังคม การใช้ภาษา ความเชื่อ พฤติกรรมทางสังคม และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์คล้ายคลึงกัน
ความสัมพันธ์ของกะเหรี่ยงกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
จากการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาตร์จะเห็นว่า ชนเผ่ากะเหรี่ยงมีความสัมพันธ์กับชาติไทย ดังนี้
ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีและเมืองตองอู พ.ศ. 2142 มีแม่ทัพไทยที่เป็นกะเหรี่ยงมีความสัมพัน
ธ์กับชาติไทย ดังนี้
ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีและเมืองตองอู พ.ศ. 2142 มีแม่ทัพไทยที่เป็นชาวกะเหรี่งมีชื่อว่า แสนภุมิโลกเพชร
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีชัยชนะตีเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อ พ.ศ. 2205 ก็มีกะเหรี่ยงและละว้าเป็นกองอาทมาต (กองสอดแนม)
ครั้นถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้จัดทัพจะมาตีกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ก็มีกะเหรี่ยงและละว้าเมืองศรีสวัสดิ์คอยหาข่าวให้ฝ่ายไทย
เมื่อเกิดสงครามเก้าทัพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กะเหรี่ยงจากสังขละบุรีได้มีใบบอกไปยังเมืองหลวงทำให้สามารถเตรียมการรับศึกด้านนี้ได้ทันท่วงที
ดังนั้น กะเหรี่ยงจึงมีความสัมพันธ์อันยาวนานกับประวัติศาสตร์ของชาติไทย กะเหรี่ยงมีส่วนสำคัญในการปกปักรักษาผืนแผ่นดินและทรัพยากรของประเทศเท่ากับชาวไทยทั้งมวล ทั้งเป็นด่านหน้า กองสอดแนม และกำลังพลในการสู้รบกับพม่า กะเหรี่ยงเข้ามามีบทบาทแทนกลุ่มละว้า ซึ่งเป็นชนดั้งเดิมบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี ซึ่งชนเผ่ากะเหรี่ยงจะมีความชำนาญและรอบรู้ภูมิประเทศ จึงได้รับการสนับสนุนจากทางกรุงธนบุรี มาโดยตลอดจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
การแต่งกายของกะเหรี่ยง
เอกลักษณ์การแต่งกายของกะเหรี่ยงโพล่งราชบุรีและเพชรบุรีจะเหมือนกัน เพราะเป็นกลุ่มที่มาจากทวายด้วยกัน แต่จะแต่งกายไม่เหมือนกับกะเหรี่ยงทางจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และอุทัยธานี โดยกะเหรี่ยงโพร่งจัดเป็นกะเหรี่ยงเขตวัฒนธรรมราชบุรี ที่มีศูนย์รวมจิตใจอยู่ที่วัดแจ้งเจริญ
ภาษาของกะเหรี่ยง
ภาษากะเหรี่ยงจัดเป็นสาขาหนึ่งของภาษาตระกูลใหญ่จีน - ธิเบต คำศัพท์บางคำของกะเหรี่ยงทั้ง 2 กลุ่ม มีสำเนียงใกล้เคียงกัน
ความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง
ชาวกะเหรี่ยงราชบุรีอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ จึงผูกพันกับธรรมชาติตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ภูเขา สายน้ำ และแผ่นดิน ทำให้เข้าใจและให้คุณค่าต่อธรรมชาตด้วยการปฏิบัติดี เคารพนับถือต่อแม่ธรณี (ซ่งทะรี่) แม่คงคา (นาทิ้ง) และแม่โพสพ (ผีบือโย) ทั้งหมดจึงเป็นผู้มีพระคุณในฐานะผู้คุ้มครองธรรมชาติ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจและบารมีเหนือมนุษย์ที่จะต้องเคารพด้วยการประกอบพิธีกรรมและข้อห้ามต่าง ๆ มากมาย ซึ่งล้วนเป็นสัญลักษณ์การแสดงออกถึงการ "ขอใช้" และ "ขอบคุณ" ธรรมชาติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีงาม
ความเชื่อเรื่องผีและสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของกะเหรี่ยง เป็นผลดีต่อความเป็นอยู่โดยรวมของสังคมกะเหรี่ยง จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของโครงสร้างสังคมและวิธีการดำเนินชีวิต เป็นบ่อเกิดของพื้นฐานสำคัญของโครงสร้างสังคมและวิธีการดำเนินชีวิต เป็นบ่อเกิดของคุณธรรมนานัปการ ตลอดจนก่อให้เกิดข้อห้าม จารีตต่าง ๆ ที่ใช้เป็นกฎสังคมในการป้ามประพฤติปฏิบัติต่าง ๆ ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า ทำอะไรอยู่ย่อมมีผู้รู้เห็นเสมอ และจะลงโทษผู้ที่ประพฤติไม่ดีให้เจ็บป่วย หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรหรือสัตว์เลี้ยงได้ หากกระทำผิด ด้วยเหตุดังนี้ชาวกะเหรี่ยงจึงไม่กล้ากระทำผิด
ส่วนความเชื่อทางด้านพิธีกรรมนั้น มักจะมีพิธีเซ่นไหว้ต้นไม้ใหญ่ประจำหมู่บ้าน และมีพิธีแห่หงส์ขอฝน ซึ่งมีเฉพาะที่บ้านบ่อ ตำบลสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งคล้ายกับการแห่นางแมวของชาวนาไทยนั่นเอง
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกะเหรี่ยง
เครื่องมือและเครื่องใช้ของกะเหรี่ยง ได้แก่ ไม้ไผ่หรือหวายสานเป็นภาชนะบรรจุสิ่งของแล้วสะพายหลัง นับว่าเป็นเครื่องใช้ที่สะท้อนให้เห็นถึงบรรพบุรุษที่มีถิ่นฐานบนที่ราบสูงมาช้านาน และปัจจุบันมีการผลิตเครื่องใช้เป็นอาชีพ คือ การสานเข่งด้วยไม้รวมไม้ไผ่
การละเล่นพื้นบ้านทั่วไปจะใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ไม้ขาโหย่ง การกระโดดเชือก ตีวงล้อ เดินกะลา เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีเทศกาลเรียกขวัญเดือนเก้า ซึ่งชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรีจะจัดเหมือนกัน และมีศูนย์กลางของวัฒนธรรมอยู่ที่วัดแจ้งเจริญ ตำบลจอมประทัด อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ชาวไทยเราเคยเรียกเทศกาลนี้ว่า ประเพณีกินข้าวห่อ ซึ่งต่อมาทางการได้เข้าไปร่วมพิธีดังกล่าวเพื่อสร้างกระแสและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนทางหนึ่ง

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ . ประวัติศาสตร์ ป.3 . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์